วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552
กล้วยที่รับประทานไม่ได้

กล้วยพัด หรือกล้วยลังกามีลักษณะต้นใหญ่ ใบคลี่แผ่ออกคล้ายพัด ถิ่นกำเนิดที่เกาะมาดากัสการ์ นำพันธุ์เข้าไทยครั้งแรกสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นการนำมาโดยคณะสงฆ์จากประเทศศรีลังกา จึงเรียกอีกชื่อว่า กล้วยลังกา นิยมปลูกตามวัดวาอาราม สถานที่ราชการ และแม้แต่ในพระราชวังโบราณต่างๆ
กล้วยกัทลี มีกอขนาดกลาง ต้นสูงกว่ากล้วยประดับต้นอื่นๆ เล็กกว่าต้นกล้วยน้ำว้า สูงประมาณ 2.5 เมตร แตกหน่อรอบโคนต้น ใบสีเขียว ช่อดอกสีส้มแดงสดใส ช่อใหญ่ ตั้งช่อ ดอกแปลกมีกลีบประดับสีแดงเพลิง ปลายกลีบสีเหลือง กลีบปลีโอบเข้าเป็นรูปพัดคลี่เล็กน้อย มีดอกข้างในสีเหลืองติดผลเล็กๆ สีเหลืองส้ม เนื้อในกล้วยสีขาวดอกสวยแปลกตาเป็นจุดเด่น ดอกติดต้นทนทานหลายวันทีเดียว แม้ตัดดอกนำมาปักแจกันก็อยู่ได้นานถึงสองเดือน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเวียดนาม


กล้วยบัวชมพู เป็นกล้วยกอเล็ก ลำต้นสีเขียวนวล ในสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็กสูง 1-1.5 เมตร ออกออกเป็นปลีสีชมพู ชูช่อขึ้นฟ้าสีสวย สามารถตัดมาปักแจกันอยู่ทนทานเป็นเดือนโดยที่กาลปลีออกจะร่วงทีละกาบ เครือเล็กสั้น ลูกเล็กกินไม่ได้ ต้นกล้วยยังแตกหน่อค่อนข้างบ่อยและรวดเร็ว ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ
กล้วยบัวสีส้ม เป็นพันธุ์เดียวกันกล้วยบัวสีชมพู แต่พันธุ์สีส้มมี 2 ชนิดหรือ 2 แบบ คือ แบบปลีดอกสั้นกับปลีดอกยาว เครือสั้น ออกดอกสีส้มสดสวยชูช่อคราวละนานๆ หมั่นแยกกอที่แตกออกจากต้นแม้สักนิด ก็จะได้ต้นกล้วยบัวสีส้มต้นแม่ที่อวบใหญ่ แข็งแรง
กล้วยร้อยหวี บางทีเรียกว่ากล้วยงวงช้าง ลำต้นเหมือนกล้วยทั่วไปแต่ต้นเล็กกว่ากล้วยน้ำว้า ใบสีเขียวเข้า สูงราว 1.5-2 เมตร อายุการออกช่อดอกใช้เลวลา 6 เดือน ระยะตกปลีจนสุดปลายเครือ ใช้เวลาทยอยเป็นหวีกล้วยเล็กๆ ยาวนาน 9 –12 เดือน จึงจะสุดเครือ ช่อดอกมีดอกแน่นมาก เป็นดอกตัวเมียส่วนใหญ่ ออกเป็นเครือห้อยย้อยลง ยาวเฟื้อยเหมือนงวงช้าง บางครั้งจึงเรียกว่ากล้วยงวงช้าง ในเครือที่สมบูรณ์เครือหนึ่งมี 200-300 หวี มีผลกว่า 3,000 ผล เครือยาว 6 ฟุต
กล้วยรุ่งอรุณ เป็นกล้วยไม้ประดับต้นเล็กขนาดกลาง ช่อดอกชูขึ้นฟ้าสีสวยงาม เมื่อดอกกลายเป็นผล ลักษณะผลป้อมมีสีชมพูเข้มสวย ชูเครือขึ้นฟ้า

สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)